เมนู

7. ปฐมมหาโกฏฐิกสูตร1


ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่ไม่เทียง


[251] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่
ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนโกฏฐิกะ สิ่งใดแล ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็
สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง จักษุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปไม่
เที่ยง เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความ
พอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจใน
จักษุสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด
ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง. เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
นั้นเสีย หูไม่เที่ยง . . . จมูกไม่เที่ยง . . . ลิ้นไม่เที่ยง . . . กายไม่เที่ยง. . .
ใจไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอพึง
ละความพอใจในธรรมารมณ์ มโนวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ
ในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในมโนสัมผัส
นั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะ
1. อรรถกถาสูตรที่ 7-8-9 แก้รวมไว้ท้ายสูตรที่ 9

มโนสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูก่อน
โกฏฐิกะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.
จบ ปฐมมหาโกฏฐิกสูตรที่ 7

8. ทุติยมหาโกฏฐิกสูตร


ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นทุกข์


[ 252 ] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ. ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์โปรดทรง
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีก
ออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละ
ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์. จักษุแลเป็นทุกข์ เธอ
พึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น
จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัส
เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นทุกข์ เธอ
พึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสนั้นเสีย หูเป็นทุกข์.. . จมูกเป็นทุกข์... ลิ้นเป็นทุกข์...
กายเป็นทุกข์. . . ใจเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์